เกษตรแบบอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์ ในความหมายของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) คือ ระบบการเกษตร
ที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน
การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัย
การผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ในขณะเดียวกันก็ พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติใน การเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความ
ต้านทางต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้ เป็นหลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ
สังคม ภูมิอากาศและ วัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย.
นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดลชัย อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้คำจำกัดความไว้ว่าเกษตรอินทรีย์
คือ การทำการเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างไม่ว่าสารพิษดังกล่าวจะมาจากทางดิน ทางน้ำ ทางอากาศ
หรือแม้แต่จากการตัดต่อพันธุกรรมพืชเพื่อให้ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมปลอดภัยจากสารพิษ

เป็นการช่วยรักษา
ความสมดุลทางธรรมชาติและลดต้นทุนการผลิต แล้วหันมาใช้สารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืช
หรือใช้สกัดจากชีวภาพบำรุงพืชแทน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยว

หลักการสำคัญของเกษตรอินทรีย์ คือ
1. ทำการเกษตรโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ เช่นปลูกพืชตามฤดูกาล
2. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทางการเกษตร และสารพิษทุกชนิด
3. บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น ปลูกพืชตระกูลถั่ว พืชคลุมดิน และใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างผสมผสาน
4. รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ คือ ปลูกพืชหลายชนิดร่วมกันในฟาร์ม สัตว์เลี้ยงได้รับการดูแลที่เหมาะสม
ไม่กักขัง และทำทารุณ
5. เกษตรกรมีความสุข เสรีภาพ และรายได้ที่เป็นธรรม

เกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์
จากการขยายตัวของภาคเกษตรกรรมที่ผ่านมา ส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างแพร่หลาย
และ ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นเพื่อเร่งรัดการผลิต มีการใช้สารเคมีต่างๆ ทั้งปุ๋ยเคมี สารป้องกันศัตรูพืช
สารเร่งบังคับการเจริญเติบโต โดยขาดความรู้ทำให้มีสารตกค้างและสะสมอยู่ในผลผลิตทางการเกษตร
เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อตัวของเกษตรผู้ผลิตและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ในมาตรการกีดกันการค้าผลผลิตการเกษตรและสินค้าอาหารระหว่างประเทศด้วย
ทั้งนี้เพราะปัจจุบันกระแสความต้องการของผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพอนามัยของตนมากขึ้น
หากประเทศไทยยังใช้วิธีทำการเกษตรแบบเดิมๆ อนาคตอาจต้องสูญเสียตลาดสินค้าทางการเกษตรที่สำคัญให้แก่
ประเทศเพื่อนบ้านไปได้ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้ในเรื่องของราคา จึงควรหันมาพัฒนาและส่งเสริมการทำการเกษตร
ในรูปแบบใหม่คือ การทำเกษตรยั่งยืนให้เป็นทางเลือกใหม่ หรือวิธีคิดแบบใหม่กับเกษตรกร
จากที่กล่าวมานี้ เกษตรอินทรีย์มีหลักการที่คล้ายคลึงกับเกษตรยั่งยืน คือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ให้ความสำคัญอย่างสูงต่อดิน ป้องกันมลภาวะที่เกิดเนื่องจากวิธีการทำการเกษตร รวมถึงการรักษาระบบนิเวศน์ของชุมชน
ตอบสนองต่อความต้องการด้านอาหารสุขภาพและวิถีชีวิตที่ดี รวมทั้งเอื้อให้เกษตรกรตระหนักต่อความสำคัญ
และประโยชน์ของการใช้แรงงานไปพร้อมๆกันด้วย ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรยั่งยืน
ซึ่งรูปแบบของการเกษตรยั่งยืนมีหลายระบบ แตกต่างกันไป เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ
เกษตรชีวพลวัตร เกษตรกรรมนิเวศวิทยา เกษตรกรรมชีวภาพ และวนเกษตร


 

 




 

 


 

 
เว็บไซต์นี้ดำเนินการในรายวิชาโครงการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2558.