เกษตรแบบยั่งยืน

เกษตรยั่งยืน (วัฒนเกษตร หรือ เกษตรทางรอด) เป็นหลักชี้นำการผลิตทางเกษตรในอนาคต
โดยเน้นที่การจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตทางเกษตรอันประสบความสำเร็จ เพื่อสนองตอบความต้องการของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลง
(ไม่คงที่) โดยขณะเดียวกันสามารถดำรงหรือบำรุงสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้
คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเทคนิคของกลุ่ม CGIAR (Consultative Group on International Agricul-tural Research)
ได้ให้ความหมายว่า เกษตรยั่งยืน คือระบบการบริหารทรัพยากร เพื่อทำการผลิตทางการเกษตรที่ตอบสนองต่อ
ความจำเป็นและต้องการของมนุษย์ และในขณะเดียวกันก็ธำรงรักษาและฟื้นฟูคุณภาพของสิ่งแวด
ตลอดจนช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติการเกษตรยั่งยืน จึงเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างขีดความสามารถของระบบการผลิต
ความสามารถของผู้ผลิตในการผลิตสินค้าเกษตร ภายใต้การจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม

ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพื่อการกินดี อยู่ดี มีเสถียรภาพและสามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและชุมชน
รวมถึงประเพณี วัฒนธรรม และคุณธรรมของสมาชิกในชุมชน
อภิพรรณ (2542) กล่าวว่า การเกษตรยั่งยืนไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ได้ปฏิเสธสารเคมี ปุ๋ยเคมี หรือพันธุ์ใหม่ๆ
ก็หาได้ไม่ เพียงแต่การให้ได้มาซึ่งเกษตรยั่งยืนนั้น นักวิชาการจะต้องใคร่ครวญว่าเทคโนโลยีเหล่านั้น
หากนำมาใช้ในอัตราและปริมาณที่มากเกินไป หรือนำมาใช้ในสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ๆ ไม่เหมาะสมแล้วจะ
นำมาซึ่งความเสื่อมโทรมให้แก่ทรัพยากรหรือสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรหรือไม่
ประเด็นต่อมาที่จะต้องนำมาใคร่ครวญได้แก่ ความเหมาะสมของสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรว่า
จะสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้หรือไม่ และเมื่อใช้แล้วจะสามารถผลิตสินค้าเกษตรออกมาเพื่อเพิ่มรายได้ให้เขาเหล่านั้นได้หรือไม่
และในประเด็นสุดท้ายได้แก่การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร จะสามารถกระทำในลักษณะใดที่เกษตรกร
จะสามารถเข้าใจถึงเทคโนโลยีการเกษตรว่ามีความเหมาะสมและจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกร
ในการที่จะนำไปปรับใช้ได้ต่อไป
ตามหลักของเกษตรยั่งยืนนี้ การผลิตทางเกษตรจะต้องคำนึงถึงปัจจัยประกอบต่างๆ อาทิ ระบบนิเวศเกษตร
ภาวะเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคมของเกษตรกรวิทยาการและเทคโนโลยี
ก. ระบบนิเวศเกษตร การเกษตรทางรอดจะต้องพิจารณาปัจจัยเกี่ยวกับนิเวศวิทยา

เลือกทำการเกษตร
ในแขนงที่เหมาะสมที่จะได้ผลดีโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศวิทยา ยกตัวอย่างเช่น
ควรจะต้องพิจารณาว่า บนที่สูงและลาดชัน ควรทำการเพาะปลูกแบบใด หรือควรจะเลี้ยงสัตว์ประเภทใด
โดยไม่ทำให้ที่ดินเกิดการชะล้างพังทลาย ไม่ทำลายพืชพรรณในป่ารอบๆ ไม่ทำลายแหล่งต้นน้ำลำธาร
ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะจากการเกษตรนั้นๆ
ข. ภาวะเศรษฐกิจ ระบบการเกษตรที่ควรเลือกใช้นั้นให้ผลดี คุ้มค่าการลงทุน
แต่ต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติยกตัวอย่าง เช่น การเพาะเลี้ยงกุ้งตามชายฝั่ง
จะต้องไม่เป็นการทำลายป่าชายเลน และไม่ก่อให้เกิดน้ำเน่าเสีย และมลภาวะต่างๆ เป็นต้น
ค. ปัจจัยทางสังคมเกษตร ระบบการเกษตรที่ส่งเสริมให้ใช้ ควรสอดคล้องกับวัฒนธรรม ศาสนา
ความเชื่อ ระดับการศึกษา ความจำเป็นในชีวิต สวัสดิภาพ และความมั่นคงของครอบครัว ฯลฯ ของเกษตรกร
ง. เทคนิคและวิชาการ เทคนิคและระบบการผลิตทางเกษตรที่นำมาใช้ ได้รวมเอาพื้นความรู้หรือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประกอบเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคนิคทางเกษตร เทคนิคการผลิตต่างๆ
ไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมากเกินไป แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น โดยไม่สิ้นเปลืองหรือสูญเปล่า
ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงโคนม โดยนำเอาต้นข้าวโพดฝักอ่อน ฟางข้าว เถามันเทศ เปลือกสับปะรด ฯลฯ
มาใช้เป็นอาหารโค ในขณะที่พยายามลดส่วนประกอบของอาหารโคที่ใช้เป็นอาหารคนได้ อาทิ ปลา (ปลาป่น)
ถั่วเหลือง (กากถั่วเหลือง) ข้าวโพด เป็นต้น

 

 

 

 

 

 


 

 




 

 


 

 
เว็บไซต์นี้ดำเนินการในรายวิชาโครงการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2558.